เมนู

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ใดฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีปีติ อยู่เป็นสุข.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

อรูปฌาน 4


[158] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง.
ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อะไร ๆก็ไม่มี เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง.
[159] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวก
ในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของ
ภิกษุเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบมหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ 4

4. อรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตร


มหามาลุงกยโอวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้า
ได้สดับมาอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือ สังโยชน์อันเป็นไปใน
ส่วนเบื้องต่ำ ยังสัตว์ให้เป็นไป คือ เกิดในกามภพ. บทว่า สํโยชนานิ คือ
เครื่องผูก. บทว่า กสฺส โข นาม แก่ใครหนอ คือ เธอจำโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ที่เราแสดงแก่ใคร คือ แก่เทวดา หรือแก่มนุษย์. เธอผู้เดียวเท่านั้น
ได้ฟัง ใคร ๆ อื่นมิได้ฟังหรือ. บทว่า อนุเสติ ย่อมนอนตาม คือชื่อว่า
ย่อมนอนตามเพราะยังละไม่ได้. ชื่อว่า สังโยชน์ คือ การนอนตาม. อนึ่ง
ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์
เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร.
เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น.
เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสใน
ขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.